วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ความแตกต่างของการใช้ need, want, must, have to, have got to

ความแตกต่างของการใช้ 
need, want, must, have to, have got to

เรามาเริ่มดูกันที่คำแรกเลยนะคะ

1.  want ซึ่งแปลว่า ต้องการ, อยาก 

 ตัวอย่างเช่น   I want to eat  some ice cream. (ฉันอยากกินไอศกรีม)
                         
                        หรือในภาษาพูดที่เขามักจะพูดจากคำว่า want to เป็น wanna 

ตัวอย่างเช่น  I wanna eat  some ice cream. 

                        และคำว่า wanna ห้ามใส to ตามหลังอีกเป็นอันขาด เพราะคำว่า wanna นั้นก็ย่อมาจากคำว่า want to ซึ่งจะมี to อยู่ในตัวแล้ว เพราะฉะนั้นจะไม่มีคำว่า wanna to เด็ดขาด

2.  must  จะแปลว่า จำเป็นต้อง

                must to ไม่มีนะคะแบบนี้ must จะต้องไม่มี to ตามหลังเด็ดขาด ซึ่งที่ถูกต้องจะมีแค่ must และตามหลังด้วยความจำเป็นที่เราต้องทำสิ่งต่างๆ

                must นั้นไม่ใช่แค่ ต้อง เท่านั้น แต่ต้องเป็น จำเป็นต้องทำ  เป็นสิ่งที่เราจำเป็นต้องทำ

ตัวอย่างเช่น   I must learn English to prepare for the AEC. 
                        (ฉันจำเป็นต้องเรียนภาษาอังกฤษเพื่อเตรียมตัวเข้าสู่อาเซียน)

3.  need แปลว่า ต้อง

ตัวอย่างเช่น  I need to lose weight. (ฉันต้องลดน้ำหนัก)

>>  ซึ่งถ้าสังเกตุเห็น คำว่า want กับ need จะมีความหมายเหมือนๆ กัน แต่จริงๆ แล้ว 2 คำนี้ที่มีความหมายว่า ต้อง นั้นจะเป็นความต้องการกันคนละแบบ คือ คำว่า want นั้นเป็นความต้องการที่เป็นความปราถนา หรือเป็นความต้องการทั่วๆ ไป แต่คำว่า need นั้นเป็นสิ่งที่ต้องการ หรือเป็นความจำเป็นที่ขาดไม่ได้

ตัวอย่างเช่น   want to eat  some ice cream. (ฉันอยากกินไอศกรีม)
                         I need to take medicine because I'm sick. 
                         (ฉันจำเป็นต้องกินยาเพราะฉันไม่สบาย)
                        
4. have to แปลว่า ต้อง แต่ต้องในที่นี้เป็นกรณีของการโดนบังคับให้ทำ

ตัวอย่าง  I have to go to school. (ฉันต้องไปโรงเรียน)       


5.  have got ซึ้งจะแปล่วา ต้อง เหมือนกัน

ตัวอย่างเช่น I have got to get a haircut. (ฉันต้องไปตัดผม) 
                 
                      หรือบางครั้งเราอาจจะตัด have ออกแล้วเมื่อตัดออกก็จะเป็น I got a haircut.






บางทีหลายๆ คนอาจจะไม่ชอบที่จะอ่านตัวหนังสือเยอะๆ ก็สามารถชมสิ่งเหล่านี้ได้

จากวีดีโอด้านล่างนี้เลยนะค่ะ





วันอาทิตย์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Reading for Main Idea


การอ่านจับใจความสำคัญ
(Reading for Main Idea)



ใจความสำคัญ (Main Idea) 

Main Idea คือ ใจความสำคัญหรือใจความหลักของเรื่อง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สุดของเรื่อง ซึ่งเป็นส่วนที่ครอบคลุมและควบคุมเรื่องนั้นๆ กล่าวคือ ในแต่ละย่อหน้าต้องมี main idea เพียงอันเดียว และถ้าเมื่อขาด main idea ไปแล้ว ย่อมจะทำให้ไม่เกิดเนื้อเรื่องต่างๆ ขึ้น หรือทำให้ไม่ทราบจุดประสงค์เรื่องนั้นๆ แล้วทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนได้โดยปกติแล้ว main idea จะเป็นประโยคเท่านั้น การวิเคราะห์และค้นหา main idea ได้ ต้องเกิดจากการค้นหา Topic มาก่อน และนำเอาส่วน topic มารวมกับข้อความ ที่คอยควบคุมสาระเกี่ยวกับ topic นั้น กล่าวโดยสรุป คือ

1) 
พินิจพิเคราะห์และหา topic หรือเนื้อเรื่องที่อ่าน ว่าด้วยเรื่องอะไร (What is the topic idea?)               
                                                                         
2) ส่วนที่ควบคุมประเด็นสาระที่เสนออยู่นั้นคืออะไร นั่นคือถูกควบคุมให้พูดถึงสิ่งใด แล้วนำเอา topic + สิ่งที่ควบคุม (controlling idea) ก็จะได้เป็น main idea จึงเห็นได้ว่า main idea ที่ถูกต้อง จะต้องครอบคลุมสิ่งที่กล่าวในเรื่องได้โดยเฉพาะประเด็นหลัก Main Idea & Topic sentence มีความคล้ายคลึงกันมาก Topic Sentence หมายถึง ประโยคที่บรรจุหัวเรื่องและใจความสำคัญไว้ ส่วนใหญ่มักวางไว้ที่ประโยคแรก หรือประโยคสุดท้ายของข้อความ ซึงมักหาได้จากเนื้อเรื่อง 


ประเภทของ Main Idea:  โดยทั่วไป ใจความสำคัญมีอยู่ทั้งหมด 2 ชนิดได้แก่

1. State main idea 
คือ หลักใหญ่ใจความที่สำคัญที่สุดของเรื่อง ซึ่งผู้เขียนบอกมาตรงๆ สามารถครอบคลุมเนื้อหาของเรื่องได้ทั้งหมด จะต้องตั้ง main idea ไว้ในการเขียน และบรรยายหรือธิบายโดยยึด main idea เป็นหลัก ส่วนที่ขยายหรือบรรยายให้รายละเอียดต่อจาก main idea คือ supporting idea โดยปกติ ในเนื้อความหนึ่งๆ เรามักจะพบ state main idea ได้ในตอนต้น ตอนกลาง หรือตอนท้ายของย่อหน้า


2. Implied main idea หมายถึง การกล่าวถึง main idea ในลักษณะที่ผู้เขียนไม่ได้เอ่ยมาตรงๆ ทันที เพียงแต่แสดงนัยให้เห็นเท่านั้น ผู้อ่านต้องวินิฉัยเอาเองเพื่อให้เห็นได้ชัดๆ Main Idea มีกี่ชนิดตำแหน่งของ Main Idea อยู่ตรงไหนบ้าง

2.1. อยู่ตรงต้นเรื่อง 


ตัวอย่าง: A baby elephant is the biggest of all land babies. A newborn baby weighs more than two hundred pounds. It is about three feet high. The new baby is strong, too. Almost as soon as it is born, it can walk about. 


(ย่อหน้านี้กล่าวถึงลูกช้างว่าเป็นลูกสัตว์บก (land babies) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด โดยบอกว่า ลูกช้างที่เกิดใหม่ จะมีน้ำหนักมากกว่า 200 ปอนด์ และสูงราว 3 ฟุต นอกจากนี้ ยังแข็งแรงด้วย เพราะตอนที่คลอดออกมา มันจะสามารถเดินได้ทันที ดังนั้น ใจความสำคัญ (main idea) จึงอยู่ที่ประโยคแรก คือ A baby elephant is the biggest of all land babies.)



2.2 อยู่ตรงกลางเรื่อง

ตัวอย่าง:  Keep your tree outdoors until the day before Christmas. Never use lighted candles. There are also other suggestions for avoiding a Christmas tree fire. Turn off the lights before you leave the house and throw away the tree by New Year's Day. 

(ย่อหน้านี้กล่าวถึงคำแนะนำ เพื่อหลีกเลี่ยง มิให้เกิดไฟไหม้ต้นคริสต์มาสว่า ให้นำต้นคริสต์มาสไปไว้นอกบ้าน ก่อนจะถึงวันคริสต์มาสและไม่ให้จุดเทียนไว้ด้วย นอกจากนี้ ยังแนะนำอีกว่า ให้ปิดไฟก่อนออกจากบ้าน และทิ้งต้นไม้เมื่อถึงวันปีใหม่ ดังนั้น ใจความสำคัญ (main idea) จึงอยู่ที่ประโยคกลาง คือ There are also other suggestions for avoiding a Christmas tree fire.)




2.3 อยู่ท้ายเรื่อง (มีการกล่าวซ้ำอีกครั้งในตอนท้าย)


ตัวอย่าง: Most people are free to enjoy themselves in the evenings and on weekends. Some spend their time watching television, listening to the radio, or going to movies; others participate in sports. It depends on their interests. There are various ways to spend one's free time.   

(ย่อหน้านี้กล่าวถึง การใช้เวลาว่างของคนในตอนเย็น และวันสุดสัปดาห์ว่า บางคนจะดูโทรทัศน์ บางคนฟังวิทยุ ไปชมภาพยนตร์หรือไปเล่นกีฬา มันขึ้นอยู่กับความสนใจของแต่ละคน มีวิธีที่จะใช้เวลาว่างมากมายหลายวิธี ดังนั้น ใจความสำคัญ (Main Idea) จึงอยู่ที่ประโยคท้าย คือ There are various ways to spend one's free time.


2.4 ไม่อยู่ในประโยคใดประโยคหนึ่ง แต่ต้องสรุปเองโดยนัยดังที่กล่าวแล้วว่า การหา main idea นั้น จะต้องมีการค้นหา topic ก่อน ดูว่าเรื่องที่อ่านกล่าวถึงคำนามตัวไหนบ่อยที่สุด (topic Noun) แล้วดูว่ามีการกล่าวถึงนามคำนั้นว่าอย่างไร (Topic Idea) แล้วจึงดูว่าข้อความที่เป็นใจความสำคัญของเรื่อง topic idea นั้นอยู่ในประโยคใด ประโยคนั้นแหละเป็น Topic sentence หรือ Main Idea




 Tips and Tricks    
       
            เคล็ดลับเด็ดๆ Main Idea: คำถามที่ถามถึงความคิดหลักของประโยคหรือบางทีถามถึงชื่อเรื่อง Title ทุกครั้งที่อ่านเนื้อเรื่องจึงต้อง หมั่นหา key word หรือ คำ วลี หรือประโยคซ้ำๆ กรุณาอย่าลืมความสำคัญของ paragraph แรกโดยเฉพาะประโยคแรกซึ่งมักจะ สื่อความคิดหลักของเนื้อเรื่องให้กับผู้อ่าน วิธีสังเกตง่ายมาก 
* ใน Passage ทั่วไปถ้ามีการพูดถึงคำนามคำไหนมากที่สุด นั่นคือ Main Idea

ข้อควรสังเกตในการหาใจความสำคัญ (Main Idea)

1. Main idea มักจะขยายหัวเรื่อง (Topic) ของบทความ
2. Main idea อาจซ่อนอยู่ในประโยคต้นๆของบทความ
3. Main idea อาจเขียนซ่อน อยู่ตรงกลางหรือ ในประโยคท้ายๆ ของบทความ



หลักการอ่านจับใจความสำคัญ (Reading for Main Ideas)

1.
อ่านเรื่องที่ต้องการจับใจความสำคัญโดยเริ่มตั้งแต่ชื่อเรื่อง เพราะชื่อเรื่องมักสอดคล้องกับเนื้อเรื่อง หรือช่วยบ่งชี้ให้เห็นจุดสนใจของเรื่อง ให้อ่านตั้งแต่ต้นจนจบแล้วตอบคำถามให้ได้ว่า เรื่องที่อ่านเป็นเรื่องอะไร ใครทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร ทำไมจึงทำ และได้ผลอย่างไร

2.
พิจารณาหาใจความสำคัญจากแต่ละย่อหน้า ย่อหน้าที่ดีต้องมีเอกภาพ ดังนั้นแต่ละย่อหน้าจึงมีใจความสำคัญเดียวซึ่งครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมด นอกจากนี้ผู้อ่านอาจสังเกตคำสำคัญ (keyword) ที่มักปรากฏให้เห็นหลายครั้งในย่อหน้านั้น อย่างไรก็ดีมิใช่ว่าทุกย่อหน้าจะมีใจความสำคัญของเรื่องเสมอไป หากย่อหน้านั้นเป็นเพียงการยกตัวอย่าง หรือรายละเอียดขยายใจความสำคัญในย่อหน้าก่อน

3.
นำใจความสำคัญของเรื่องที่จับมาได้ทั้งหมดมาเรียบเมื่อเราอ่านประโยค สิ่งที่เราต้องทราบคือ ประโยคกล่าวถึงใคร (Subject) ทำอะไร (Verb) เพราะสิ่งนี้ จะทำให้เข้าใจ Main Idea ของประโยค ส่วน Supporting details ของประโยคจะประกอบด้วยข้อมูลต่างๆ เช่น ทำต่อใคร (Object) 








วันเสาร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2556

The Five-Paragraph Essay


The Five-Paragraph Essay





หลักการเขียน Essay

1. Planning : เมื่อทราบหัวข้อในการเขียน Essay แล้ว ขั้นตอนแรก คือ การจัดระบบความคิด 
กำหนดกรอบเนื้อหา โดยต้องตัดสินใจว่าจะพูดเกี่ยวกับอะไรบ้าง และพูดอย่างไร โดยเนื้อหา
ที่คิดว่าจะพูดเหล่านั้น ต้องไปด้วยกันได้และไม่หลงประเด็นออกนอกเรื่อง

2. Drafting : ขั้นตอนที่สอง ต้องนำกรอบเนื้อหาที่ตัดสินใจว่าจะเขียนจากในข้อ 1 มาลองร่างดู
ให้เกิดเป็นเค้าโครงคร่าวๆของ Essay ขึ้น โดยมีการเรียงลำดับให้เค้าโครงเนื้อหาเหล่านั้นดู
กลมกลืนลื่นไหล ไม่กระโดดไปกระโดดมา

3. Writing :
 ขั้นตอนที่สามอันสำคัญยิ่ง คือ การลงมือเขียน Essay
 ตามที่ได้ร่างเอาไว้ 
ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างส่วนต่างๆของ Essay จะกล่าวไว้ในหัวข้อถัดไป

4. Editing : ขั้นตอนที่สี่ เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าขั้นตอนที่สาม 
เนื่องจากเป็นขั้นตอนของการแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ตรวจทานให้ Essay ที่เราเขียนมี
ความสมบูรณ์มากที่สุด 

Structure (โครงสร้าง)
                                                      1. Introduction
                                                      2. Body
                                                                     * Body — First paragraph
                                                                     * Body — Second  paragraph
                                                                     * Body — Third paragraph
                                                      3. Conclusion


1. Introduction : เป็นย่อหน้าแรกของ Essay ใช้ในการเปิดเรื่อง Introduction ที่ดี 
ควรจะสามารถดึงดูดใจให้ผู้อ่านสนใจและอยากจะอ่าน Essay ของเราต่อจนจบ โดยภายใน
 Introduction มี Thesis Statement ซึ่งเป็นประโยคสำคัญที่บอกให้ผู้อ่านทราบว่า Essay 
เรื่องนี้ต้องการจะกล่าวอะไร หรือพูดอีกอย่างก็ คือ เป็นประโยคที่บอก Main Idea 
ของ Essay นั่นเอง

2. Body : ย่อหน้าถัดไปของ Essay เป็นส่วนของเนื้อหาที่เราต้องการจะกล่าวเพื่อสนับสนุน 
Thesis Statement หรือ Main Idea ของเรา โดย Body ของ Essay จะมีเหตุผลสนับสนุนอยู่ 
3 ข้อ เสมอ เป็นประเพณีนิยมของการเขียน Essay 

2.1 Supporting Idea 1 : เหตุผลสนับสนุนข้อ 1 การเขียนจะเริ่มด้วยประโยคสรุปใจ
ความสำคัญ (Topic Sentence) จากนั้นจึงอธิบายเหตุผลสนับสนุนนั้นๆให้เข้าใจชัดเจน และ
อาจมีการยกตัวอย่างประกอบเพื่อความเข้าใจ

2.2 Supporting Idea 2 : เหตุผลสนับสนุนข้อ 2 วิธีการเขียนเช่นเดียวกับ เหตุผลสนับสนุ
                                                ข้อ 1

2.3 Supporting Idea 3 : เหตุผลสนับสนุนข้อ 3 วิธีการเขียนเช่นเดียวกับ เหตุผลสนับสนุน
                                                ข้อ 1

           โดย Supporting Idea ทั้ง 3 ข้อ จะต้องมีเอกภาพ (Unity) พูดไปในทิศทางเดียวกัน 
เพื่อสนับสนุน Main Idea ใน Thesis Statement ที่กล่าวในย่อหน้าแรก และต้องเรียง 
Supporting Idea ทั้ง 3 ข้อ ตามลำดับให้กลมกลืนเหมาะสม อ่านแล้วไม่สะดุด

3. Conclusion : ย่อหน้าสุดท้ายของ Essay เป็นการสรุปสิ่งที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด 
โดย Conclusion ที่ดีควรเน้นย้ำ Thesis Statement หรือ Main Idea ให้เกิดความ
ชัดเจนในใจของผู้อ่าน ไม่เขียนออกนอกเรื่อง และอย่าลืมที่จะทิ้งท้ายให้เกิดความประทับใจ


ข้อควรรู้เพิ่มเติม

      ในการเขียน Essay ควรใช้คำเชื่อม (Transition) ต่างๆ อาทิ เช่น however, 
therefore, moreover, then, while, from then on, on the other hand, etc. 
มาช่วยในการเรียงต่อแต่ละประโยคเข้าด้วยกันเป็นย่อหน้า เนื่องจากหากนำแต่ละประโยค
มาเรียงต่อกันโดยตรงจะทำให้เป็น Essay ที่อ่านแล้วเนื้อความแข็งไม่สละสลวยเท่าที่ควร 
การใช้คำเชื่อมจะช่วยให้ผู้อ่านมีอารมณ์ร่วมกับเนื้อหาของ Essay มากขึ้น และสามารถ
คาดการณ์ทิศทางของเนื้อหาใน Essay ได้ก่อน จากคำเชื่อมระหว่างประโยค 
ว่าเนื้อหาจะสอดคล้องหรือขัดแย้งกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจในเนื้อหา
ของ Essay ได้ดียิ่งขึ้น

สิ่งที่ต้องตรวจแก้ในขั้นตอนสุดท้ายของการเขียน Essay
1. เนื้อหาน่าสนใจ อ่านง่าย อ่านเข้าใจ ไม่หลงประเด็น ไม่ออกนอกเรื่อง
2. การเรียงลำดับประโยค การเชื่อมประโยคกลมกลืนลื่นไหลและเหมาะสม ไม่กระโดด ไม่สะดุด
3. ใช้ Vocabulary เหมาะสมกับประโยคและเนื้อหาโดยรวม ไม่ใช้คำผิดระดับ เช่น การนำ
 Vocabulary แบบเป็นทางการ มาใช้ใน Essay ที่พูดเกี่ยวกับเรื่องสบายๆเป็นกันเอง
4. ใช้ Grammar ถูกต้อง โดยตรวจเช็คการใช้ Tense, Subject and Verb Agreement,
 Article และ Spelling ให้ถูกต้องตามหลักการ
5. อย่าลืมอ้างอิงแหล่งที่มาเพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ผู้ให้ข้อมูลด้วย

Sample Outline for a Five-Paragraph Essay

This is in relation to "The Hazards of Movie going"



Title: The Hazards of Moviegoing



1. Introduction
A. Introductory statement

B. Thesis statement: I like watching movies but I prefer

watching them at home.


2. Body


         1. First Supporting Idea (Topic Sentence): just getting

to the theater presents difficulties


              1. bad weather

              2. long drive and limited parking space

              3. long waiting to buy ticket


        2. Second Supporting Idea (Topic Sentence): facing

the problems of the theater itself


              1. old theater's problems such as smelly carpet,

                  worn-out seat, etc

              2. new theater's problems such as smaller size,

                   noise from next movie theater, etc

              3. both floors will be rubber-like dirty at the end of

                 the movie


     3. Third Supporting Idea (Topic Sentence): Some of the

patrons are annoying

             1. bad behavior such as running, talking loud, etc

             2. human noise and disturbance

3. Conclusion
             1. Closing statement

             2. Restate thesis: I prefer to watch movies at home

                                                 where it is comfortable, clean and                                                  
                                                 safe.




แหล่งที่มา

http://www.thaiessaywriting.com/essay%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/







Present Continuous Tense

หลักการใช้ 

Present Continuous Tense (ปัจจุบันกาลต่อเนื่อง) 



โครงสร้าง 

Subject + i am are +V. ing

ประธาน + is am are + กริยาช่องที่ 1 เติม ing



โดย Verb to be ที่ใช้จะผันตามประธาน กล่าวคือ                                                                                    
 

ประธานเอกพจน์


ใช้ is


he/she/it

ใช้ is






ประธานพหูพจน์


ใช้ are


you/we/they

ใช้ are






I

ใช้ am



หลักการใช้

1. ใช้กล่าวเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นขณะที่พูดอยู่ หรือในระหว่างอาทิตย์นั้น เดือนนั้นก็ได้ 

ซึ่งอาจจะมีคำเหล่านี้อยู่ด้วยก็ได้


now / right now  ตอนนี้

at the moment  ตอนนี้



หลักการแปล ให้แปลรวบ is am are กับกริยาที่เติม ing ว่า ” กำลัง….”

- I am studying  hard, John. จอห์น ฉันกำลังเรียนหนักนะ (ไม่ใช่ขณะนี้ แต่เป็นพักนี้)

- Most students are using mobile phones. นักเรียนส่วนใหญ่กำลัง(นิยม)ใช้โทรศัพท์มือถือ (ไม่ใช่ขณะนี้ แต่เป็นปัจจุบันนี้)

- He is driving a car. เขากำลังขับรถ

- She‘s eating an apple. หล่อนกำลังกินแอปเปิ้ล

- It is raining at the moment. มันกำลังฝนตกขณะนี้ (ฝนกำลังตก)

- A cat is sleeping in the room. แมวกำลังนอนหลับในห้อง

- You are sitting on my book. คุณกำลังนั่งบนหนังสือของฉัน

- We are running right now. พวกเรากำลังวิ่งขณะนี้

- They are going to school. พวกเขากำลังไปโรงเรียน

2. ใช้กล่าวถึงเหตุการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต (แน่ๆ) และมักจะมีคำที่บ่งบอก

อนาคตกำกับอยู่ด้วย
this evening เย็น

tonight คืนนี้

tomorrow พรุ่งนี้

this weekend สุดสัปดาห์นี้

next  week สัปดาห์หน้า

next month เดือนหน้า

next year ปีหน้า และอื่นๆ


หลักการแปล ให้แปลรวบ is am are กับกริยาที่เติม ing ว่า ” กำลังจะ….” หรือจะ

แปลว่า“ จะ” ก็ได้

- I’m studying English this weekend. ผมกำลังจะเรียนภาษาอังกฤษสุดสัปดาห์นี้ (เรียนแน่เพราะจ่ายเงินแล้ว)

- She is going to the market tomorrow. หล่อนกำลังจะไปตลาดวันพรุ่งนี้ (ของหมด ต้องไปซื้อ)

- He‘s coming to my house for lunch this Friday. เขากำลังจะมาบ้านผมเพื่อ(กิน)อาหารเที่ยงในวันศุกร์นี้

- We‘re moving to New York next year. พวกเรากำลังจะย้ายไปนิวยอร์คปีหน้า

- They are seeing the doctor next month. พวกเขากำลังจะพบหมอเดือนหน้า (ไม่ได้แปลว่าเห็นนะครับ)


Time Line เส้นเวลา


timeline present continouse tense


       หลังจากที่ได้อ่านหลักการใช้แล้ว ทีนี้มาดูไทม์ไลน์กันว่าจะเป็นจริงอย่างที่บอกไว้หรือไหม่ 

ที่บอกว่า tense นี้ใช้บอกกล่าวเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น
- สีดำ คือ อดีตที่หมองหม่น
- สีส้ม คือ ปัจจุบันที่สดใส
- สีชมพู คือ อนาคตที่เรืองรองผ่องอำไพ
- ลูกศรสีขาวไซร้ คือ เหตุการณ์ (ณ ตอนนี้)
- เส้นประ หมายถึง ระยะเวลาสั้นๆ (สำหรับ Continuous Tense)
- เส้นประสีขาว คือ ช่วงระยะเวลาที่เหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว
- เส้นประสีเหลือง คือ ช่วงระยะเวลาที่เหตุการณ์ที่ยังดำเนินต่อไป

ให้สังเกตุที่ลูกศร มันคือเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นขณะนั้น มีตัวเดียว นั่นหมายความว่าเป็นเหตุการที่เรากำลังพบเจออยู่ ส่วนเส้นประสีเหลืองนั้นหมายถึงระยะเวลาของเหตุการณ์
A girl is running now. ขณะนี้เด็กคนหนึ่งกำลังวิ่ง
ถ้าดูจากเส้นเวลาแล้วสามารถเดาได้ว่า วิ่งมาพักหนึ่งแล้ว (ประสีขาว) ตอนนี้กำลังวิ่งอยู่ (ลูกศรสีขาว) และน่าจะวิ่งต่ออีกสักพักคงอยุดแน่นอน (ประสีเหลือง)
ระยะเวลาของเหตุการณ์ใน Present Continuous  Tense นานแค่ไหน ตรงนี้ขอให้ทำความเข้าใจว่ามันเป็น ระยะเวลาสั้นๆของเหตุการณ์ อาจจะสักสิบนาที ยี่สิบนาทีหรือสามสิบนาที เพราะถ้าจะพูดถึงเหตุการที่เกิดขึ้นนานๆ ตั้งแต่เป็นชั่วโมงขึ้นไปเนี่ย จะใช้   perfect กับ   perfect continuous แทน เพราะสอง tense ดังกล่าวจะมีการระบุเวลาด้วยว่ากี่ชั่วโมง กี่วัน กี่เดือน หรือกี่ปีเป็นต้น


สรุปว่า ถ้าต้องการสื่อเรื่องราวอะไรสักอย่าง ที่เป็น “เหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ณ ตอนนั้น” 

ให้ใช้โครงสร้าง
ประธาน + is am are + กริยาช่องที่ 1 เติม ing




วิธีการสร้างประโยค Present Continuous Tense

โครงสร้าง

Subject + is/am/are + V.-ing

ประโยคบอกเล่า
I
am
talking
to her.
You / We / They
are
reading
magazines.
He / She / It
is
sleeping
on the couch.

ครงสร้าง


Subject + is/am/are + not + V.-ing

ประโยคปฏิเสธ
I
am
not
talking
to her.
You / We / They
are
not
reading
magazines.
He / She / It
is
not
sleeping
on the couch.

โครงสร้าง

Is/Am/Are + Subject + V.-ing?
ประโยคคำถาม
Am
I
talking
to her?
Are
you / we / they
reading
magazines?
Is
he / she / it
sleeping
on the couch?
โครงสร้าง

Who/What/Where/When/Why/How + is/am/are + Subject + V.-ing?

ประโยคคำถาม 
Wh-
Who
am
I
talking to?
What
are
you / we / they
reading?
Where
is
he / she / it
sleeping?

*คำปฏิเสธรูปย่อของ is / am / are not คือ isn’t, aren’t และ aren’t